ระบบการสื่อสารในอดีตไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ความหนาแน่นของการเชื่อมต่อสื่อสาร ขีดจำกัดของความถี่ที่ใช้ และสัญญ
ระบบการสื่อสารในอดีตไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ความหนาแน่นของการเชื่อมต่อสื่อสาร ขีดจำกัดของความถี่ที่ใช้ และสัญญาณรบกวน (Noise) ที่สูง เป็นต้น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิค Beamforming เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดสัญญาณรบกวนให้ต่ำที่สุด พร้อมทั้งยังคงรักษาความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารได้อย่างมั่นคง ด้วยเทคนิค Beamforming นี้ สามารถยกระดับคุณภาพการสื่อสารให้ดีขึ้นและลดการสูญเสียของสัญญาณระหว่างการเชื่อมต่อ ทั้งในระบบการสื่อสารดาวเทียมและเทคโนโลยี 5G รวมถึงการใช้คุณสมบัติของเสาอากาศให้เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพของสัญญาณโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ใช้สื่อสาร
เทคโนโลยี 5G มีบทบาทในการสื่อสารปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากและการเชื่อมต่อที่ใช้ความเร็วสูง อีกทั้งการใช้สายอากาศประเภท MIMO ในการรับส่งข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกล่าวถึงความต้องการของโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่อ และคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของเครือข่าย 5G ดังนี้
ลักษณะโครงข่ายต้องรองรับการรับและส่งสัญญาณในหลายรูปแบบ เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบคลาวด์ การสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือการเชื่อมต่ออื่น ๆ
รองรับการใช้งานในลักษณะ RAN (Random Access Network) เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ
การออกแบบต้องสนับสนุนการติดตั้งและใช้งานระหว่างผู้ใช้กับการบริหารจัดการข้อมูล (Database) ในรูปแบบต่าง ๆ
โดยทั่วไป การใช้เทคนิค Beamforming นั้นจะใช้สายอากาศในการควบคุมทิศทางของการแพร่คลื่นโดยมีการปรับแต่งขนาดและเฟสของสัญญาณจากสายอากาศแต่ละอะเรย์ (Arrays) กล่าวคือ สัญญาณเดียวกันแต่สามารถส่งออกมาได้จากหลายๆอะเรย์ ซึ่งต้องมีระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย ½ ของความยาวคลื่น ในส่วนของภาครับนั้น ภาครับสามารถรับสัญญาณเดียวกันที่ส่งออกมาจากอะเรย์ ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดบีมขึ้นซ้ำกันหลายครั้ง ส่งผลให้สามารถครอบคลุมการสื่อสารได้ในบริเวณนั้นๆได้
สัญญาณจะถูกทำการเข้ารหัส (Pre-coding) ทั้งการมอดูเลชั่นขนาดและเฟสในเบสแบนด์ก่อนทำการส่งผ่าน RF Transmission ด้วย RF chian โดยแต่ละผู้ใช้หรือ User สามารถจัดการบีมแต่ละบีมได้ (One per Each User) ในการสร้างบีมแบบดิจิตอลนั้นจะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณของพื้นที่ในการสื่อสารได้มากขึ้น ลดสิ่งรบกวนหรือสัญญาณีบกวนต่างๆ ได้ อีกทั้งสามารถสื่อสารในวลาและความถี่เดียวกันได้
ในการสร้างบีมนั้นต้องจัดการบีมโดยรวมหรือเป็นเซ็ตหรือรูปแบบเดียวกัน ซึ่งเฟสนั้นจะถูกควบคุมโดยตัวเฟสชิฟเตอร์ (Phase Shifter) ดังนั้นการสร้างบีมแบบอนาล็อกมีผลต่อรูปแบบของบีมและ Gain ของสายอากาศ ซึ่งอาจะมีผลกระทบต่อการสูญเสียพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการใช้งานในรูปแบบของความถี่ mm-WAVE 5G
เป็นการสร้างบีมที่นำเอาการสร้างบีมแบบอนาล็อกและการสร้างบีมแบบดิจิตอลมารวมกันจึงเรียกว่า การสร้างบีมแบบผสมผสานหหรือไฮบริดจ์ โดยหลักทั่วไปคือใช้การสร้างบีมแบบอนาล็อกเพื่อให้บีมแบบหยาบๆ จากนั้นใช้เทคนิค Beamforming แบบดิจิตอลปรับให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น สายอากาศในส่วนของ MU-MIMO หรือ SU-MIMO
คือการสร้างบีม โดยที่ผู้ใช้ หรือระบบสามารถเลือกหรือสลับแต่ละบีมได้ เพื่อที่จะสร้างบีมให้เป็นต้นแบบหรือรูปแบบ ที่มีทั้ง Main lobe และ Side Lobe ที่ต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างบีมที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักคือ Butler Matrix เป็นต้น
การสร้างบีมแบบ Massive MIMO นั้น คือการใช้สายอากาศหลายๆอันมาสร้างเป็นบีม เพื่อให้สามารถเพิ่มขนาดความสัญญาณ (SINR: Signal to Noise Raio) และสามารถส่งไปถึงภาครับได้ ซึ่งสามารถกระทำได้ 2 วิธีดังนี้
การปรับเพิ่มอัตราส่วนของสัญญาณให้สูงสุดและการปรับแต่งบีมระหว่างภาคส่งและภาครับ (Maximum Ratio Transmission) ในการปฏิบัติจริง คือการใช้ ระบบ Time Division-Duplexing (TDD) ในการแชร์ การส่งข้อมูล (Uplink) และการรับข้อมูล (Downlink) ในย่านเดียวกันนั่นเอง โดยในภาครับนั้นจะส่งสัญญาณนำไปก่อน (Pilot Signal) ถึงสถานีภาคพื้นเพื่อให้สามารถปรับแต่งและสร้างบีมที่ดีที่สุดได้
การเข้ารหัส (Pre Coding Table) คือการให้ผู้ใช้นั้นสามารถเลือกบีมก่อนล่วงหน้าซึ่งมีหลายวิธีการเพื่อให้ได้สัญญาณที่มีเข้มที่สุด เช่น การใช้ Codebooks เป็นต้น